ขยะอาหาร หรือ Food Waste คืออะไร?

รู้หรือไม่ครับ? อาหารที่เรารับประทานเหลือทิ้งในแต่ละวันจะกลายมาเป็นขยะกองโต เฉลี่ยถึงปีละ 27 – 28 ล้านตัน
บางคนอาจจะมีความคิดว่า ขยะสามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว ไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะขยะจากอาหารเหลือทิ้ง หรือ Food Waste กลับทำร้ายโลกอย่างมหาศาล สิ่งที่เกิดจากกระบวนการเน่าเสีย คือ “ก๊าซเรือนกระจก” ที่เป็นต้นเหตุให้เกิด “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming) มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า !!
.
ขยะอาหาร หรือ Food Waste คืออะไร?
Food Waste คือ เศษอาหารเหลือทิ้งจากมื้ออาหารในแต่ละครัวเรือน หรือวัตถุดิบที่เน่าเสียจนไม่สามารถนำไปประกอบอาหารได้ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนมาจากบ้าน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า อุตสาหกรรม และอื่น ๆ เกิดเป็นขยะกองโตที่ไม่ได้ถูกกำจัดไปอย่างถูกวิธี พอนานวันเข้าก็ทำให้เกิดการสะสม ถูกปล่อยให้เน่าเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์
.
4 แนวทางลดขยะอาหารในบ้าน ที่ใคร ๆ ก็ทำได้
.
1. วางแผนการซื้อวัตถุดิบทำอาหารให้พอดี
เริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการวางแผนจ่ายตลาด สำหรับซื้อวัตถุดิบทำอาหารให้พอดี เพื่อที่จะได้รับประทานอาหารหมดและไม่เหลือทิ้ง
.
2. แปรรูปอาหารให้กลายเป็นเมนูใหม่
เมนูง่าย ๆ อย่างการนำวัตถุดิบที่เหลือในตู้เย็น มาทำเป็น “แกงโฮะ” เมนูอาหารพื้นบ้านของภาคเหนือที่นับได้ว่าเป็นการจัดการเศษอาหารที่เหลือได้อย่างดี หรืออีกเมนูหนึ่งอย่าง “ต้มจับฉ่าย” เมนูที่เน้นการนำเอาผักที่เหลืออยู่ในครัวมาทำเป็นเมนูแกงแสนอร่อย เติมโปรตีนที่ชอบลงไป เคี่ยวผักจนสุกนิ่มได้ที่ก็เป็นอันเสร็จ เมนูนี้นอกจากจะอร่อย ได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยลดขยะอาหารในครัวเรือนได้อีกด้วย
.
3. มื้อนี้รับประทานไม่หมด เก็บไว้รับประทานมื้อต่อไปได้
อาหารที่รับประทานเหลือในแต่ละมื้อ ถ้ารู้สึกอิ่มและรับประทานไม่หมด ให้เก็บใส่ภาชนะใสที่มีฝาปิดมิดชิด และแช่ตู้เย็นไว้รับประทานในมื้อต่อไปได้ แต่ก็ควรที่จะกำหนดวันที่จะต้องรับประทาน เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเน่าเสียด้วย
.
4. ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร
เพียงแค่เรานำเศษอาหารที่รับประทานเหลือ เศษใบไม้ และจุลินทรีย์ มาเทรวมกันและหมักใส่ถังทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง จากนั้นเราก็จะได้ปุ๋ยหมักสูตรพิเศษ ที่จะช่วยให้ต้นไม้ ดอกไม้ หรือพืชในบ้านให้เจริญงอกงามได้
.
หากทุกคนอยากเปลี่ยนโลกที่เราอยู่ให้ดีขึ้น เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเรา เริ่มต้นวางแผนการซื้อวัตถุดิบที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการรับประทาน ไม่รับประทานอาหารเหลือทิ้ง นำเศษอาหารไปแปรรูปให้กลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับเรา เพื่อช่วยลดจำนวนปริมาณขยะลงได้ มาร่วมมือกันสร้างโลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืนกับเรา เหมือนดั่งปณิธานของเอไอเอ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าเป็นผู้นำด้าน ESG (Environment, Social and Governance) เพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ผ่านนโยบายและโครงการต่าง ๆ เช่น นโยบายส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่มั่นใจว่าจะสนับสนุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net - Zero Commitment) การพัฒนาและก่อสร้างอาคารตามมาตรฐานอาคารสีเขียว (Green Building) การรณรงค์เพื่อลดการใช้กระดาษ (Paperless) รวมถึงโครงการ "เอไอเอ แชร์ริ่ง อะไลฟ์" ที่ได้มอบพื้นที่สีเขียว ผ่านการปลูกต้นไม้ตามสวนสาธารณะและพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมกันทั่วประเทศในปีที่ผ่านมา เพราะเราเชื่อมั่นว่าพลังเล็กๆ ของทุกคน จะช่วยเปลี่ยนแปลงเพื่อให้โลกยังคงน่าอยู่สำหรับพวกเราตลอดไป
.
ขอบคุณข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
.


 

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม