ซิเซียม 137
ช่วงนี้หลายคนอาจกำลังให้ความสนใจกับข่าว “ซีเซียม-137” ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายและสิ่งแวดล้อมอย่างน่าตกใจ วันนี้ เอไอเอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “ซีเซียม-137” ว่าคืออะไร อันตรายแค่ไหน จะป้องกันตนเองได้อย่างไร และอาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์ รู้กันแล้วจะได้ปฏิบัติตัวกันได้อย่างถูกต้องครับ
.
ซีเซียม-137
คือ สารกัมมันตรังสี ลักษณะเป็นโลหะอ่อนมากสีทองเงิน เมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้องปกติจะเป็นของเหลว มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก ที่สำคัญมันจะปล่อยรังสีเบต้า แกมม่า ออกมา จริง ๆ ประโยชน์ของซีเซียม-137 นอกจากใช้ในโรงงานแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคมะเร็งด้วย
.
อันตรายจาก ซีเซียม-137
อันตรายจะเกิดขึ้นหากมีการสัมผัส ส่วนจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นกับปริมาณรังสี และชนิดรังสีที่ได้รับ
อาการที่พบคือ เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีอาจเกิดอาการพุพอง ไหม้
.
กรณีสัมผัสในปริมาณมาก อาจส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และร้ายแรงที่สุดอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
.
การป้องกันตนเองจากซีเซียม-137
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสีหรือกล่องเหล็กที่ต้องสงสัย
- หากอยู่ในที่เกิดเหตุ ให้ไปลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสียังหน่วยงานที่กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เพื่อเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี
- รวบรวมสิ่งของหรือเสื้อผ้าที่คาดว่าปนเปื้อนไปให้หน่วยงานตรวจสอบก่อนนำไปใช้
- ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
- ติดตามข้อมูลและสถานการณ์ ปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด
.
อาการที่ควรพบแพทย์
คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวมากเกิน 2 ครั้ง มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง เลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายในหนึ่งสัปดาห์หลังสัมผัสรังสี
.
หากสงสัยว่ามีอาการดังกล่าว ติดต่อ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี โทร 037-211626 ต่อ 102
พร้อมแจ้งประวัติการสัมผัสสารกัมมันตรังสี
หรือหากต้องการสอบถามข้อมูลความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ติดต่อตัวแทนหรือ โทร. 1581
.
ขอบคุณข้อมูล กรมควบคุมโรค
.
#AIAThailand #HealthierLongerBetterLives #กัมมันตรังสี #ซีเซียม137
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น