โรคภัยทางการเงิน

เริ่มต้นปีใหม่กันมาได้ไม่นาน สุขภาพทางการเงินเป็นยังไงกันบ้าง? 
.
เอไอเอ ขอชวนทุกคนมารู้จักกับ “โรคร้ายทางการเงิน” ภัยเงียบที่ต้องระวัง! ใครที่เริ่มมีอาการของโรคเหล่านี้ จะได้รีบรักษาได้ทันเวลา เพื่อให้อนาคตทางการเงินของเราสดใสแบบไร้หนี้สิน
.
1. โรคความดัน(อยากมี)สูง
#ของมันต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องมีทุกอย่างก็ได้นะ อาการของคนที่เป็นโรคนี้ มักจะมีไลฟ์สไตล์ที่ใช้จ่ายเงินแบบเกินตัว แค่ให้ได้มีไว้อวดบนโลกโซเชียลมีเดียก็เท่านั้น 
.
วิธีรักษา
ควรเริ่มวางแผนรายรับรายจ่าย คิดก่อนซื้อ และลดการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น 
.
2. โรคภูมิคุ้มกัน(การเงิน)ต่ำ
อาการของคนที่เริ่มรู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้ เห็นป้าย Sale แล้วใจสั่น อยากจะช้อปของ Sale รัว ๆ เน้นผ่อนสินค้า รูดบัตรเครดิตก็จ่ายแต่ขั้นต่ำวนไป
.
วิธีรักษา
สร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ด้วยการหักห้ามใจต่อสิ่งเร้ารอบตัว เริ่มหันมาวางแผนและจัดระเบียบทางการเงินให้เป็นระบบ
.
3. โรคทรัพย์จาง
คนที่มีนิสัยที่ชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในช่วงต้นเดือน ทำให้สิ้นเดือนไม่เหลือเงินใช้ และจะวนลูปซ้ำ ๆ แบบนี้ต่อไปทุกเดือน
.
วิธีรักษา
เมื่อได้รับเงินเดือนมาปุ๊บให้รีบแบ่งเก็บบางส่วนไว้ทันที พอถึงช่วงสิ้นเดือนให้มานับยอดเงินคงเหลือ และค่อยเริ่มวางแผนบริหารรายจ่ายให้กับเดือนถัดไป
.
4. โรคออมเงินล้มเหลวเฉียบพลัน
คนที่มีแพสชันแรงกล้าในช่วงแรก อยากเริ่มเก็บเงิน แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เริ่มหาข้ออ้างมากมาย และบอกปัดไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็ไม่ได้เก็บเงินซะที 
.
วิธีรักษา
ปรับทัศนคติของตัวเอง ให้ความสำคัญกับการออมเงิน เริ่มจากการออมเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนก็ได้ เพราะเงินเหล่านี้เมื่อเก็บสะสมไปเรื่อย ๆ ก็จะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ไม่ยาก
.
5. โรคมะเร็งหนี้ระยะสุดท้าย
หนึ่งในโรคที่ร้ายแรงที่สุดทางการเงิน อาการของคนป่วยที่มีสารพัดหนี้สินมากมายรุมเร้า กลายเป็นคนที่มีหนี้สินเยอะกว่ารายรับที่ได้ จนทำให้เสียเครดิตทางการเงิน 
.
วิธีรักษา
ขั้นแรกให้แบ่งเงินเป็นสัดส่วนและชัดเจน เพื่อป้องกันการไปหยิบยืมเงินจากคนอื่น ใช้จ่ายบัตรเครดิตไม่ให้เกิน 20-25% ของวงเงินที่ได้รับ และไม่ควรจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ เพราะเป็นการสะสมหนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันหมด
.
ทุกวันนี้ไม่มีหมอหรือยาตัวไหนที่สามารถรักษา “โรคร้ายทางการเงิน” มีแต่ตัวเราเองเท่านั้น ที่จะต้องหันมาปรับพฤติกรรมทางการใช้จ่ายเงินอย่างพอดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายเหล่านี้ขึ้น และเพื่อให้เรามีเงินเก็บเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้นั่นเองครับ
.
ขอบคุณข้อมูล บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)
.
#AIAThailand #HealthierLongerBetterLives #FinancialInclusion #โรคร้ายทางการเงิน

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม