พิมพ์เขียวของชีวิต
ตั้งแต่ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ผ่านมา หลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินคำว่า “จีโนม” (Genome) กันมาบ้าง แล้วรู้หรือไม่ว่า จีโนมคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
.
“จีโนม” เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของสิ่งมีชีวิต เป็นข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่จำเป็นของสิ่งมีชีวิต หากเราป่วยหรือเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรม การมีแผนที่จีโนมร่างกาย จะช่วยให้ตรวจหาตำแหน่งของยีนที่ก่อให้เกิดโรคได้ ทำให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น
.
แม้ที่ผ่านมาจะยังไม่สามารถสร้างแผนที่จีโนมฉบับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ โดยในปี 2003 มีนักวิจัยได้จัดทำแผนที่จีโนมมนุษย์ได้เกือบสมบูรณ์ โดยยังขาดความสมบูรณ์ไปประมาณ 8% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่สามารถศึกษาตรวจสอบชิ้นส่วนพันธุกรรมที่ซับซ้อนจนยากที่จะจำแนก
.
จนกระทั่งเมื่อเดือน มี.ค. 2022 ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์กลุ่ม Telomere-to-Telomere (T2T) ได้ตีพิมพ์แผนที่จีโนมมนุษย์ที่สมบูรณ์ชุดแรกของโลก โดยสามารถเติมเต็มส่วนที่เหลืออยู่ได้สำเร็จ!! ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้จะทำให้ศักยภาพในการค้นหาเบาะแสเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคและความแปรปรวนทางพันธุกรรมในประชากร 7.9 พันล้านคนทั่วโลก เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น ที่สำคัญ หากในอนาคต เมื่อมีคนจัดลำดับจีโนม เราจะสามารถระบุตัวแปรทั้งหมดใน DNA ได้ และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น
.
เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติแบบนี้ มาร่วมยินดีกับความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์กันนะครับ 😊
.
ขอบคุณข้อมูล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
#AIAThailand #HealthierLongerBetterLives #วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ #จีโนม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น