ซึมเศร้า แค่ไหน ถึงเรีกซึมเศร้า
#โรคซึมเศร้า กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะเสี่ยงการเป็นโรคซึมเศร้า ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ โรคระบาด การแข่งขันทางสังคม รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพและกรรมพันธุ์ ส่งผลให้มีคนไทยกว่า 1.5 ล้านคน ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ซึมเศร้าแค่ไหน ถึงจะเรียกว่าเป็น "โรคซึมเศร้า"
.
เช็ก 5 ใน 9 สัญญาณเตือน "โรคซึมเศร้า“
1. มีอารมณ์ซึมเศร้า เบื่อ ท้อแท้ หรือหงุดหงิดง่ายอย่างต่อเนื่อง
2. ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก หรือไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบทำ
3. พฤติกรรมการทานเปลี่ยนไปทานมากไปทานน้อยไป จนทำให้น้ำหนักขึ้นหรือลงผิดปกติ
4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
5. กระวนกระวายอยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
6. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
7. รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิด โทษตัวเองในทุกๆ เรื่อง
8. สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
9. คิดเรื่องการตาย หรือคิดอยากตาย
.
หากพบอาการตั้งแต่ 5 ข้อขึ้นไป และเป็นอยู่นานติดต่อกันตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป โดยมีอาการตลอดเวลา แทบทุกวัน อาจเข้าข่ายเสี่ยงมีภาวะซึมเศร้า ควรได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือพบแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา รวมถึงสามารถปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
.
#การรักษาโรคซึมเศร้า
มีทั้งการรักษาด้วยการใช้ยาและไม่ใช้ยา ซึ่งในบางคนอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค โดยขั้นตอนการรักษาทั้งหมดควรให้จิตแพทย์เป็นผู้ประเมินอาการ
.
ขอบคุณข้อมูล กรมสุขภาพจิต
.
#AIAThailand #HealthierLongerBetterLives #AIAOneBillion #AIAOneBillionTH #MentalWellness #Depression #โรคซึมเศร้า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น