ต้องทำอย่างไรเมื่อ ATK 2ขีด
หากคุณตรวจ ATK แล้วผลขึ้น 2 ขีด (เป็นบวก) ต้องทำอย่างไร? วันนี้เอไอเอมีข้อมูลมาฝากกันครับ
หากคุณเป็นผู้สงสัยว่าอาจติดเชื้อโควิด 19 หลังตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้วพบว่าขึ้น 2 ขีด ซึ่งแสดงถึงการติดเชื้อ (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่าไม่ต้องให้ตรวจยืนยันซ้ำด้วย RT-PCR) ให้คุณดำเนินการต่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
★ ติดต่อทางโทรศัพท์ โดยดูตามพื้นที่ที่อยู่อาศัย
- พื้นที่กทม. โทรติดต่อหมายเลขสายด่วนของแต่ละเขต (เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์หรือ Facebook กรุงเทพมหานคร: https://bit.ly/3FBOgvw ) หรือเพิ่มเพื่อนทาง Line: @BKKCOVID19CONNECT หรือคลิก https://bit.ly/3Iuw7Si
- พื้นที่ต่างจังหวัด โทรติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสายด่วนเกี่ยวกับโควิด 19 ประจำอำเภอหรือจังหวัด (ดูรายละเอียดที่ Facebook หรือเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขแต่ละจังหวัด)
- ติดต่อหมายเลขสายด่วน สปสช. 1330 กด 14 (ส่งให้สถานพยาบาลคัดกรองเบื้องต้น)
★ ไปโรงพยาบาลตามสิทธิของท่าน (ผู้ป่วยนอก หรือ OPD Case)
เพื่อเข้ารับบริการที่คลีนิกทางเดินหายใจ (ARI Clinic) หรือคลีนิกสงสัยผู้ติดเชื้อ (PUI) ที่มีในทุกโรงพยาบาล
- สิทธิบัตรทอง รักษาทุกที่ตามนโยบายยกระดับบัตรทอง สามารถเข้ารับบริการในระบบบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต
- สิทธิประกันสังคม ไปโรงพยาบาลตามสิทธิของท่านหรือโรงพยาบาลที่ท่านลงทะเบียนเลือกไว้
- สิทธิข้าราชการ ไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภาครัฐ
☉ หากประเมินอาการแล้วพบว่าไม่มีความเสี่ยง
จะเข้าสู่ระบบการรักษาตามแนวทางใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 คือ รักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้านตามแนวทาง “เจอ-แจก-จบ”
👉เจอ คือ ตรวจ ATK เจอผลเป็นบวก แต่ไม่มีอาการ หรือ อาการไม่รุนแรง
👉แจก คือ แจกยารักษาตามอาการ
👉จบ คือ เข้าสู่ระบบบริการด้านสุขภาพด้วยการดูแลติดตามอาการจะได้รับการจับคู่กับสถานพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ด้วยระบบ Tele-Health ดังนี้
• แยกกักตัวที่บ้านเป็นเวลา 10 วัน
• จ่ายยาตามอาการ
• โทรติดตามอาการครั้งเดียว (ภายใน 48 ชั่วโมง)
• ระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง
• ไม่ได้รับอาหาร ไม่ได้รับอุปกรณ์ประเมินอาการ เช่น เครื่องวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
☉ หากประเมินอาการแล้วพบว่ามีภาวะเสี่ยง สามารถแบ่งอาการเป็น 3 กรณีดังนี้
1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/ไม่มีโรคร่วมสำคัญ
จับคู่กับสถานพยาบาลเพื่อเข้าระบบรักษาที่บ้าน (Home Isolation) กรณีสภาพบ้านไม่พร้อม ให้เข้าระบบการรักษาโดยชุมชนหรือศูนย์พักคอย (Community Isolation) และจะได้รับการดูแลแบบ Tele-Health แพทย์จะพิจารณาว่าจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ หากกำลังใช้ฟ้าทะลายโจรจะต้องหยุดฟ้าทะลายโจรก่อน มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง (โทรติดตามอาการ และมีเครื่องวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว พร้อมทั้งส่งอาหารให้ถึงบ้าน)
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ และ
3. ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก
สองกลุ่มนี้แพทย์จะพิจารณาให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และพิจารณาให้ยารักษาที่มีชนิดยาตามความเหมาะสม
#AIAThailand #Covid19 #ATK
อ้างอิงข้อมูลจาก สปสช. แนวทางปฏิบัติของประชาชนเมื่อสงสัยว่าติดโควิด 19 ฉบับอัปเดต 1 มี.ค. 65 https://www.nhso.go.th/news/3505
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น