ท่านอนรักษาโควิท

วันนี้ เอไอเอ มีสาระดี ๆ มาฝากสำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่รู้สึกเหนื่อยมากขึ้น หายใจลำบาก วัดออกซิเจนปลายนิ้วได้ต่ำกว่า 96% การนอนคว่ำสามารถเพิ่มการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอดได้ดีขึ้นครับ
.
การนอนคว่ำ (Prone Position) เป็นวิธีการที่ใช้กับผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน หรือ ARDS เช่น โรคปอดอักเสบที่มีลักษณะผิดปกติในปอดทั้ง 2 ข้าง โรคไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึงโรคโควิด 19 ซึ่งการนอนคว่ำจะช่วยประคับประคองอาการและทำให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดได้มากขึ้น
.
#ผู้ป่วยโควิด 19 ทำไมต้องนอนคว่ำ?
- การนอนคว่ำ ลดการกดทับของปอดได้มากกว่าการนอนหงาย ทำให้ปอดได้รับอากาศเพิ่มขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนภายในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
- การนอนคว่ำช่วยให้ระดับออกซิเจนในเลือดสูงขึ้นและระบายเสมหะดีขึ้น
.
#ผู้ป่วยโควิด 19 ที่ยังสามารถหายใจได้ด้วยตนเอง แนะนำให้นอนคว่ำ โดยปฏิบัติดังนี้
.
1. นอนคว่ำ 30 นาที – 2 ชั่วโมง
2. นอนตะแคงขวา 30 นาที – 2 ชั่วโมง
3. กึ่งนั่งกึ่งนอน (60 – 90 องศา) 30 นาที – 2 ชั่วโมง
4. นอนตะแคงซ้าย 30 นาที – 2 ชั่วโมง
5. กลับมาสู่ท่าที่ 1
.
#อาการข้างเคียง อาจมีอาการอึดอัด รู้สึกหายใจไม่ออก อาเจียน ถ้ามี ให้หยุดพักในท่าที่ผู้ป่วยรู้สึกสบาย
.
#หมายเหตุ: ในแต่ละท่า โดยเฉพาะท่านอนคว่ำอาจทำนานมากกว่าตามที่กำหนดนี้ ถ้าผู้ป่วยสามารถทนได้ และในแต่ละวันให้ผู้ป่วยทำบ่อย ๆ มากที่สุดเท่าที่ผู้ป่วยจะทำได้ 
.
ขอบคุณข้อมูลจาก กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายประกันสุขภาพ เอไอเอ
.
#AIAThailand #HealthierLongerBetterLives #โควิด19

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม