เฝ้าระวัง โรคมือเท้าปาก


 จะเข้าสู่ปากจากการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก น้ำตุ่มพองและแผลของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังเกิดจากการไอจามรดกัน และ สามารถเป็นซ้ำได้อีก

.
อาการ: หลังจากเด็กได้รับเชื้อ 3 - 6 วัน จะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วันจะมีอาการเจ็บปาก กลืนน้ำลายไม่ได้และไม่ยอมรับประทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม มีตุ่มพองใสแดงที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า ผื่นมักจะไม่คันและหายเป็นปกติ ภายใน 7 – 10 วัน
.
ถึงแม้โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ผู้ปกครองสามารถดูแลได้ โดย
1. รักษาความสะอาด ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย ภายหลังการขับถ่าย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง
2. หมั่นทำความสะอาดของใช้และของเล่นของเด็กเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และใช้ช้อนกลางรับประทานอาหาร
3. ตัดเล็บเด็กให้สั้น ป้องกันการเกา
4. หลีกเลี่ยงการนำเด็กเล็กไปในสถานที่ที่แออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
.
หากเด็กเป็นโรคนี้ไม่ควรไปโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็กเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ต้องแจ้งทางโรงเรียนทราบ และควรรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ
.
การรักษา: โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะรักษาตามอาการ โดยปกติมักไม่รุนแรงและหายได้เองหากไม่มีอาการแทรกซ้อน ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ ผู้ป่วยดูเพลียจากการขาดอาหารและน้ำ ก็แนะนำให้พยายามป้อนน้ำ นมและอาหารอ่อน
.
*หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารหรือดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก ควรรีบนำไปพบแพทย์ทันที
.
รวบรวมข้อมูล ฝ่ายประกันสุขภาพ เอไอเอ
.

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม